วัตถุประสงค์ (Objectives)
- เพื่อสร้างระบบการเฝ้าระวัง ติดตาม รายงานและป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug reaction, ADR) แบบ Spontaneous Reporting System
- เพื่อสร้างระบบป้องการแพ้ยาซ้ำโดยไม่ตั้งใจในผู้ป่วยที่มีประวัติการแพ้ยาที่ชัดเจน น่าเชื่อถือ(Repeated Drug allergy)
- เพื่อสร้างระบบป้องกันความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยาคู่ Fatal Drug-Drug interaction
- เฝ้าระวังเพื่อลดความรุนแรงและอุบัติการณ์ของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาของผู้ป่วย (Intensive ADR Monitoring) ตั้งแต่ผู้ป่วยเป้าหมายได้รับการรักษาโดยติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นปัจจุบัน
- เพื่อสร้างระบบป้องกันการแพ้ยาข้ามกัน (Cross reactivity)
การจัดการและเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสั่งใช้ยา การจ่ายยา การบริหาร การติดตามผลการใช้ยา การประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับยาที่ใช้ และการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ โดยเน้นการดำเนินการเป็นทีมสหวิชาชีพ
กรณีผู้ป่วยนอก
- พยาบาลซักประวัติแพ้ยา ตรวจสอบประวัติการแพ้ยาในโรงพยาบาล จาก OPD card, ใบส่งตัว , HomeC , ใบสั่งยา,บัตรแพ้ยา หรือจากคำบอกเล่าจากการซักประวัติ ส่งพบเภสัช กรณีต่อไปนี้ 1.1 ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยา แต่บันทึกการแพ้ยาไม่เรียบร้อยในฐานประวัติโรงพยาบาลกระบี่
1.2 ผู้ป่วยมาด้วยอาการแพ้ยาหรือความผิดปกติที่อาจเกิดจาก ADR และ แพทย์วินิจฉัย/รักษาการแพ้ยา ลงใน OPD card ว่าสงสัยแพ้ยาหรือ แพ้ยา โดยผู้ป่วยไม่ได้นอนในหอผู้ป่วย - เภสัชกรรับ OPD card และใบสั่งยา
2.1 สืบค้นประวัติการใช้ยาย้อนหลังจากโปรแกรม HomeC, OPD card
2.2 ซักประวัติการใช้ยาของผู้ป่วยเพิ่มเติม
2.3 ประเมินความสัมพันธ์ในการเกิด ADR กับการใช้ยาของผู้ป่วย และสรุปการประเมิน
2.4 ติดสติกเกอร์แพ้ยา ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ หรืออาการข้างเคียงจากยา ไว้ที่หน้า OPD card บันทึกชื่อสามัญทางยาที่สงสัยเป็นสาเหตุ และวันที่ประเมินลงในสติกเกอร์
2.5 มอบบัตรแพ้ยา พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องความสำคัญของบัตรแพ้ยา เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำให้แก่ผู้ป่วยและญาติ เพื่อความร่วมมือในการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ
2.6 บันทึกข้อมูลลงใน
2.6.1 แบบบันทึกอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (APR) หรือใบเหลือง พร้อมประเมิน Naranjo’s algorithm ด้านหลังและเก็บไว้ใน OPD card
2.6.2 ระบบ Pharmacy patient Focus
2.6.3 แบบรายงาน ศูนย์อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ (HPVC)
2.7 ส่งผู้ป่วยพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาตามปกติ
กรณีผู้ป่วยใน
- พยาบาลประจำหอผู้ป่วย พบการสงสัยการแพ้ยา หรือ แพทย์ notify สงสัยแพ้ยา ส่งพบเภสัชโดยส่ง แบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเบื้องต้นให้เภสัชกรเพื่อประเมินการแพ้ย
- เภสัชกรรับแบบรายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาเบื้องต้นและปฏิบัติตามขั้นตอน เหมือน กรณีผู้ป่วยนอก ข้อ 2.1-2.6 และ2.7 เภสัชกรรายงานการประเมินการแพ้ยาใน doctor order sheet ให้แพทย์ทราบ โดยระบุ “Pharmacist note”
2.8 เขียนชื่อยาที่แพ้ และ ติดสติกเกอร์แพ้ยา บนใบ Drug profile ของห้องยา - พยาบาลติด card แพ้ยาที่หน้า Chart เพื่อเตือนให้แพทย์ทราบ รวมทั้งเขียนชื่อยาใน doctor order sheet ทุกใบ และตรวจสอบการติดสติ้กเกอร์แพ้ยาบนใบ Drug profile ของห้องยา
เงื่อนไข
เภสัชกรประเมินว่าแพ้ยา และลงบันทึกประวัติแพ้ยาเมื่อ ....
- ADR Type A หรือ B ระดับ probable ขึ้นไป
- ADR ที่ได้รับการระบุว่าร้ายแรง
- ADR ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทนได้ หรือส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
ในกรณีที่การประเมินอยู่ในระดับ possible เภสัชกรอาจพิจารณาเป็นระดับติดตามการใช้ยา และบันทึกประวัติเป็นติดตามการใช้ยา (Monitor) เพื่อให้แพทย์ทราบ โดยแพทย์อาจพิจารณาใช้ยาชนิดนั้นกรณีจำเป็น โดยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
No comments:
Post a Comment