Thursday, December 26, 2019

แผนดำเนินงานADRปี 2563

M 1 Safe from ADE

M 1.2 Safe from Preventable Adverse Drug Reaction (ADR)


1. การป้องกันการแพ้ยาซ้ำ
สถานการณ์ปัจจุบัน พบผู้ป่วยที่ได้รับยาที่แพ้ซ้ำจำนวน 2 ราย/ปี ใน 3 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามักเกิดในภาวะฉุกเฉินที่คนไข้ต้องได้รับยารวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยได้
เป้าหมาย/KPI ไม่พบผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ(อัตราการเกิดการแพ้ยาซ้ำ = 0 )และการสั่งใช้ยาที่แพ้ซ้ำมีแนวโน้มลดลง
แผนปฏิบัติ
ระยะสั้น 1 เดือน
 ประชุมทีมเภสัชกร ADR ทบทวนแนวทางการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ และแนวทางปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันระยะกลาง 3 เดือนประชุมทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องใน ER ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อการแพ้ยาซ้ำ เพือชี้แจงผลการทบทวน SOP และหารือแนวทางการป้องกัน
ระยะยาว 6 เดือนพัฒนาเครื่องมือทาง IT ในการเข้าถึงประวัติการแพ้ยาซ้ำที่รวดเร็ว



2. การป้องกันการแพ้ยาข้ามกลุ่ม 

สถานการณ์ปัจจุบัน พบการสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด cross allergy แต่พบการแพ้ยา 1 ครั้งใน 1 ปีที่ผ่านมา
เป้าหมาย/KPI ไม่พบผู้ป่วยแพ้ยาข้ามกลุ่ม(อัตราการเกิด Cross allergy=0 )และการสั่งใช้ยาที่แพ้ข้ามกันมีแนวโน้มลดลง
แผนปฏิบัติ
ระยะสั้น 1 เดือน ประชุมทีมเภสัชกร ADR จัดทำแนวทางการเฝ้าระวังการแพ้ยาข้ามกลุ่ม และแนวทางการประเมินผล
ระยะกลาง 3 เดือนสร้างองค์ความรู้แก่เภสัชกรทุกคนในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในการประเมินผู้ป่วยและปรึกษาแพทย์
ระยะยาว 6 เดือน เก็บข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานผ่านระบบ Medication error



3.การลดความรุนแรงของการแพ้ยาแบบ SJS&TEN

สถานการณ์ปัจจุบัน กรณีผู้ป่วยได้รับยาที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ยารุนแรง ตามระบบ Intensive ADR จะได้รับการให้คำปรึกษาเกี่ยวอาการนำของการแพ้ยาที่รุนแรงและต้องหยุดยาแล้วรีบมาพบแพทย์ โดยปีที่ผ่านมาผู้ป่วย 75% ที่แพ้ยาแบบ SJS มาด้วยอาการ Prodome
เป้าหมาย/KPI ผู้ป่วยมากกว่า 60 %กลับมารับการรักษาอาการแพ้ยาที่ระยะ prodome ยังไม่มีผิวหนังและเยื่อบุหลุดลอก
แผนปฏิบัติ
ระยะสั้น 1 เดือน ชี้แจงผลการดำเนินงานและแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อลดความรุนแรงของการแพ้ยาซ้ำแก่เภสัชกรทุกคน
ระยะกลาง 3 เดือนพัฒนาเครื่องมือการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องได้รับการให้คำปรึกษาโดยเภสัชกรและติดตามอาการแพ้ยาในระยะเวลา 2 เดือนหลังเริ่มยา
ระยะยาว 6 เดือน เก็บข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานผ่านระบบ ADR


4.Fatal DI
สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่พบการรายงาน ADR จากคู่ยา Fatal DI ที่รพ.กำหนด โดยเภสัชกรเป็นผู้คัดกรองใบสั่งยา หากพบการสั่งใช้ยาคู่ Fatal DI จะปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไขรายการยาทันที และระบบ HomeC สามารถคัดกรองการลงข้อมูลยาที่มี DI กันในระยะเวลา 3 visit ย้อนหลังได้ จพ.เภสัชกรรมจึงสามารถตรวจสอบได้อีกขั้นตอนหนึ่ง
เป้าหมาย/KPI ไม่พบการเกิด Fatal DI
แผนปฏิบัติ
ระยะสั้น 1 เดือน ทบทวนคู่ Fatal DI ได้เพิ่มอีก 1 รายการคือยาเข้าใหม่ Tizanidine และ Ciprofloxacin อาจเกิดภาวะความดันต่ำและหมดสติได้ จึงกำหนดเป็นข้อห้ามใช้ร่วมกัน

ระยะกลาง 3 เดือน เพิ่มคู่ยา Fatal DI ลงในระบบ และพัฒนาคู่กับการเปลี่ยนวิธีการสั่งใช้ยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของแพทย์ เพื่อให้แจ้งเตือนตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งใช้ยา
ระยะยาว 6 เดือน หลังเปลี่ยนแปลงระบบการสั่งใช้ยา ทีม ADR เก็บข้อมูลการปฏิบัติงานเพื่อวัดผลการดำเนินงานผ่านระบบ Fatal DI และเปลี่ยนวิธีการประเมินเชิงรุกโดยการใช้โปรแกรมตรวจสอบการสั่งใช้ยารายวัน เพื่อลดภาวะ under report

No comments:

Post a Comment