M 1 Safe from ADE
M 1.2 Safe from Preventable Adverse Drug Reaction (ADR)
1. การป้องกันการแพ้ยาซ้ำ
สถานการณ์ปัจจุบัน พบผู้ป่วยที่ได้รับยาที่แพ้ซ้ำจำนวน 2 ราย/ปี ใน 3 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่ามักเกิดในภาวะฉุกเฉินที่คนไข้ต้องได้รับยารวดเร็ว และเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงประวัติการแพ้ยาของผู้ป่วยได้
เป้าหมาย/KPI ไม่พบผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำ(อัตราการเกิดการแพ้ยาซ้ำ = 0 )และการสั่งใช้ยาที่แพ้ซ้ำมีแนวโน้มลดลง
แผนปฏิบัติ
ระยะสั้น 1 เดือน ประชุมทีมเภสัชกร ADR ทบทวนแนวทางการป้องกันการแพ้ยาซ้ำ และแนวทางปฏิบัติงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันระยะกลาง 3 เดือนประชุมทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องใน ER ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงต่อการแพ้ยาซ้ำ เพือชี้แจงผลการทบทวน SOP และหารือแนวทางการป้องกัน
ระยะยาว 6 เดือนพัฒนาเครื่องมือทาง IT ในการเข้าถึงประวัติการแพ้ยาซ้ำที่รวดเร็ว
Thursday, December 26, 2019
Thursday, December 5, 2019
Sunday, December 1, 2019
Monday, November 18, 2019
ป้องกันการแพ้ยาข้ามกัน
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพ้ยาข้ามกันในกลุ่มยาที่พบบ่อย (Cross reactivity)
1. การแพ้ยาข้ามกลุ่ม Beta-lactam
1. การแพ้ยาข้ามกลุ่ม Beta-lactam
ประกอบด้วย Penicillins, Cephalosporins และ Carbapenems หากผู้ป่วยแพ้ยากลุ่ม Penicillin ให้ระมัดระวังการใช้ยาในกลุ่ม Penicillin โดยการแพ้ยาแบ่งออกเป็น 2 ระดับได้แก่ การแพ้ยาที่รุนแรงเช่น SJS, TEN, DRESS รวมถึงอาการแพ้ยาแบบเฉียบพลันแบบ Anaphylactic อีกประเภทคือการแพ้ยาที่ไม่ใช่อาการรุนแรง เช่น ผื่นคัน ผื่นลมพิษ ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องใช้ยา สามารถให้ยาภายในกลุ่มได้แต่ควรติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงาน ดังนี้
1. พบประวัติการแพ้ยา Penicillin ให้พิจารณาอาการแพ้ยาว่ารุนแรงหรือไม่หากรุนแรงให้หลีกเลี่ยงการใช้ยา Bata-lactamทั้งกลุ่ม
1. พบประวัติการแพ้ยา Penicillin ให้พิจารณาอาการแพ้ยาว่ารุนแรงหรือไม่หากรุนแรงให้หลีกเลี่ยงการใช้ยา Bata-lactamทั้งกลุ่ม
เฝ้าระวังและติดตามยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรง
แนวทางการปฏิบัติเรื่องเฝ้าระวังและติดตามยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรง(Intensive monitoring)
1. ขั้นตอนการเตรียมการเฝ้าระวังและติดตามยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรง
1.1 กำหนดรายการยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรงที่มีในโรงพยาบาล ดังนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมการเฝ้าระวังและติดตามยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรง
1.1 กำหนดรายการยาที่อาจก่อให้เกิดการแพ้ยาที่รุนแรงที่มีในโรงพยาบาล ดังนี้
- กลุ่มยา Sulfa: Cotrimoxazole, Sulfadiazine
- กลุ่มยากันชัก: Carbamazepine, Phenobarbital, Phenytoin
- กลุ่มยาต้านเชื้อไวรัส HIV: Nevirapine, GPO-Vir
- กลุ่มยาเกาต์: Allopurinol
การป้องกันการเกิด ADRแบบ Fatal Drug Interaction
แนวทางการปฏิบัติเรื่องการป้องกันการเกิด ADRแบบ Fatal Drug Interaction
1. คณะกรรมการ ADR กำหนดคู่รายการยาที่เป็น Fatal Drug interaction เพื่อเสนอต่อ PTCโดยมีเกณฑ์ในการกำหนดคู่ยาที่เป็น Fatal Drug Interaction ได้แก่
- มีรายงานการการเสียชีวิตอันหรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยก่อให้เกิดควาเสียหายอย่างถาวร เป็นผลจากอันตรกิริยาระหว่างยา
- มีระดับความมีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ 1
- มีความรุนแรงมากอยู่ในระดับ Major และเกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว
1. คณะกรรมการ ADR กำหนดคู่รายการยาที่เป็น Fatal Drug interaction เพื่อเสนอต่อ PTCโดยมีเกณฑ์ในการกำหนดคู่ยาที่เป็น Fatal Drug Interaction ได้แก่
- มีรายงานการการเสียชีวิตอันหรือเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยก่อให้เกิดควาเสียหายอย่างถาวร เป็นผลจากอันตรกิริยาระหว่างยา
- มีระดับความมีนัยสำคัญทางคลินิกระดับ 1
- มีความรุนแรงมากอยู่ในระดับ Major และเกิดขึ้นได้ในเวลาอันรวดเร็ว
คำจำกัดความ (Definition)
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Event: AE) หมายถึง ปรากฎการณ์ทางคลินิกที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยได้รับยา และมีความสัมพันธ์กับเวลาที่ได้รับยา แต่ไม่สามารถระบุถึงความสัมพันธ์กับยาที่ผู้ป่วยได้รับ
Adverse Drug Reaction คือปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองเมื่อใช้ยาในขนาดปกติเพื่อการป้องกัน วินิจฉัย บรรเทา หรือบำบัดรักษาโรค หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขการทำงานของอวัยวะในร่างกาย แต่ไม่รวมถึงการใช้ยาในขนาดสูงทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาไปในทางที่ผิด
Adverse Drug Reaction คือปฏิกิริยาตอบสนองต่อยาที่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเองเมื่อใช้ยาในขนาดปกติเพื่อการป้องกัน วินิจฉัย บรรเทา หรือบำบัดรักษาโรค หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขการทำงานของอวัยวะในร่างกาย แต่ไม่รวมถึงการใช้ยาในขนาดสูงทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาไปในทางที่ผิด
Saturday, October 12, 2019
Subscribe to:
Posts (Atom)